วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ค่านิยมสร้างสรรค์ สร้างแล้วต้องส่งเสริม

ค่านิยมสร้างสรรค์ สร้างแล้วต้องส่งเสริม
โดย วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี ผู้อำนวยการสถาบันพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒในบรรดาข้าราชการ หรือถ้าจะกล่าวให้ครอบคลุมคือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น จะมีสักกี่คนหรือกี่เปอร์เซ็นต์ที่รู้จักคำว่า "ค่านิยมสร้างสรรค์" ทั้งๆ ที่คำนี้ได้ถูกเรียกขานหรือกำหนดขึ้นมาตั้งแต่พุทธศักราช 2544 ด้วยวัตถุประสงค์ ที่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยอมรับและซึมซับเป็นค่านิยมที่ตนเองยึดถือเพื่อการปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิผล มีคุณภาพ และมีคุณธรรม และเพื่อให้การปฏิรูประบบราชการบรรลุเป้าหมายถ้าทบทวนที่มาของคำนี้โดยย่อ ก็คือ รัฐบาลไทยตระหนักดีว่า การจะปฏิรูประบบราชการให้สำเร็จได้ ข้าราชการไทยต้องปรับปรุงการทำงานของตน ด้วยการปรับเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยมการทำงานให้สอดคล้องกับระบบราชการใหม่คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการในขณะนั้น(สมัยนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย) จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการปรับปรุงวัฒนธรรมและค่านิยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐขึ้น โดยมีเลขาธิการ ก.พ.เป็นประธานคณะอนุกรรมการซึ่งประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน จากหลายสาขา ได้เห็นพ้องกันว่า ค่านิยมที่ควรส่งเสริมให้งอกงามในข้าราชการไทยมี 5 ประการคือ1) ค่านิยมกล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง2) ค่านิยมซื่อสัตย์รับผิดชอบ3) ค่านิยมโปร่งใสตรวจสอบได้4) ค่านิยมไม่เลือกปฏิบัติและ 5) ค่านิยมมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานคำเหล่านี้เราเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว เช่น กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง โปร่งใสตรวจสอบได้ไม่เลือกปฏิบัติกันแต่เดี๋ยวนี้เราจะพูดคำเหล่านี้กันน้อยลงต่อมาในปีพุทธศักราช 2545 เป็นต้นมา สำนักงาน ก.พ.โดยศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม ก็มีความพยายามที่จะส่งเสริมค่านิยมสร้างสรรค์โดยการหาบุคคลที่จะเป็นแบบอย่างในข้าราชการไทยขึ้นมา เพื่อให้เห็นว่า ข้าราชการไทยทั่วไปก็สามารถมีพฤติกรรมการทำงานที่แสดงถึงการยึดมั่นในค่านิยมเหล่านี้ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีชื่อเสียงในสังคมไทยที่เรารู้จักกัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นแบบอย่างให้ข้าราชการทั่วไปปฏิบัติตามได้ทางสำนักงาน ก.พ.จึงให้คณะผู้วิจัยของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ดร.วิลาลักษณ์ ชัววัลลี รองศาสตราจารย์งามตา วนินทานนท์ และ ดร.วิริณธิ์ ธรรมนารถสกุล) ทำการหาบุคคลตัวอย่างเหล่านี้ในกระบวนการหาบุคคลตัวอย่างก็ต้องมีเครื่องชี้วัดที่จะบอกว่า ข้าราชการในกลุ่มที่เราจะไปเสาะหานั้นมีระดับค่านิยมสร้างสรรค์สูงต่ำเพียงใด และเมื่อทราบระดับค่านิยมแล้วในการจะพัฒนา ก็ควรทราบว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่อาจนำไปสู่การมีค่านิยมสร้างสรรค์สูงได้ดังนั้น งานวิจัยที่กระทำซึ่งมีชื่อเรื่องว่า การศึกษาบุคคลตัวอย่างและเครื่องชี้วัดเพื่อนำไปสู่การพัฒนาพฤติกรรม ข้าราชการยุคใหม่ จึงมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังที่กล่าวข้างต้นคณะผู้วิจัยได้ศึกษาข้าราชการใน 4 กระทรวงหลักที่สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ที่ดีและความงอกงามของประชาชน คือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการดีเด่นและครูดีเด่นย้อนหลังไป 5 ปี และข้าราชการทั่วไป รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมด 2,027 คนเครื่องชี้วัดจากผลการวิจัย เป็นคะแนนจากแบบสอบถามพฤติกรรมตามค่านิยมสร้างสรรค์ที่ได้สร้างตามหลักวิชาการอย่างถูกต้องตามขั้นตอน ซึ่งมีเกณฑ์คะแนนสูง-ต่ำ แต่อย่างไรก็ตามการวัดค่านิยมสร้างสรรค์ก็ควรกระทำเพื่อวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเท่านั้น และไม่ควรกระทำเพื่อการตีตราอย่างแน่นอนการที่จะได้บุคคลตัวอย่างมาให้เป็นที่แน่ใจแก่สำนักงาน ก.พ.ที่จะเชิดชูนั้น ผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกให้หนักแน่นดังนี้1) เป็นข้าราชการข้าราชดีเด่น หรือ เคยได้รับการเชิดชูเกียรติ "คุรุสดุดี" ซึ่งเกณฑ์การคัดเลือกข้าราชการดีเด่นมักเป็นเรื่องกว้างๆ คือ การครองตน ครองคน และครองงาน2) มีคะแนนค่านิยมสร้างสรรค์รวมและรายด้านอย่างน้อย 2 ด้านขึ้นไปในระดับสูง3) ผู้บังคับบัญชาระดับต้นประเมินให้คะแนนการปฏิบัติตามค่านิยมสร้างสรรค์ตั้งแต่ 8 คะแนนขึ้นไปจาก 10 คะแนนและ 4) ผู้ประเมินเซ็นชื่อรับรองตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จึงทำให้ได้ข้าราชการที่เป็นแบบอย่างที่มีการปฏิบัติตามค่านิยมสร้างสรรค์ 15 คน(อาจมีผู้เข้าเกณฑ์มากกว่านี้ แต่ผู้วิจัยไม่สามารถรอการตอบกลับจากผู้บังคับบัญชารวมทั้งการส่งประวัติเป็นเวลานานได้ เพราะเวลาในสัญญาการวิจัยจำกัดอยู่)รายนามบุคคลตัวอย่างมีดังนี้ 1)นางสาววรนุช ชัยกิตติภรณ์ 2) นายดุลยเดช วัชรสินธิ์ 3) นายพินิจ หาญพาณิชย์ 4) นางฐิติพร จุ่งประสพมงคล 5) นางนิตยา เจนบรรจง 6) นางวิไล จิตต์อำไพ 7) นายรุ่งโรจน์ อาริยะ 8) นายสมศักดิ์ ไวยานิกรณ์ 9) นายอรชุน จันทร์นวล 10) นายอรรถพร คำธร 11) นางสาวนุ่มนวล หาหลัก 12) นางสาวสุภาวดี ภิรมย์รัตน์ 13) นางศุภวรรณ แก้วคำแสน 14) นายเขมชาติ อิ่มรัตนะ 15) นางสาวชัดเจน จันทรพัฒน์ผลการวิจัยยังได้เสนอปัจจัยนำและปัจจัยที่สามารถจำแนกบุคคลที่มีคุณลักษณะดีเลิศดังกล่าวออกจากบุคคลทั่วไปด้วยว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งมีหลายปัจจัย แต่อาจสรุปโดยย่อได้ว่า คุณลักษณะที่มีความเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับการปฏิบัติงานอย่างมีค่านิยมสร้างสรรค์ ก็คือว่า บุคคลนั้นต้องชื่นชอบและเห็นว่าค่านิยมสร้างสรรค์มีประโยชน์ควรปฏิบัติก่อนเขาจึงจะปฏิบัติตาม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะประชาสัมพันธ์และรณรงค์ส่งเสริมนอกจากนี้ บุคคลที่จะปฏิบัติตามค่านิยมมักเป็นผู้ที่มีพลังความต้องการที่จะเพียรพยายามทำงานให้สำเร็จอย่างมีมาตรฐานดีเยี่ยม ซึ่งลักษณะทางจิตใจที่ติดตัวบุคคลมาแล้วก่อนเข้าทำงาน ถ้าให้ดีต้องพัฒนากันตั้งแต่เด็กอายุ 2 ขวบแต่ก็สามารถส่งเสริมให้ดีขึ้นในวัยผู้ใหญ่นอกจากนี้ คุณลักษณะที่ดีอีกประการหนึ่งคือ การที่บุคคลนั้นเต็มใจช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานและหน่วยงานเพื่อประโยชน์ของหน่วยงาน แม้ไม่ใช่งานตามหน้าที่ตามปกติของตนก็มีส่วนสำคัญที่จะบอกว่าคนเหล่านี้ก็มักจะสามารถปฏิบัติงานอย่างมีค่านิยมได้ นอกจากนี้ ก็ยังมีปัจจัยที่สำคัญอื่นๆ อีกกล่าวโดยสรุป ค่านิยมสร้างสรรค์ประกอบด้วยค่านิยมเดิมของสังคมไทยที่มีประโยชน์และบางตัวก็เป็นค่านิยมที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ แต่เมื่อสร้างสิ่งที่ดีขึ้นมาแล้ว ก็ต้องทำการพัฒนา ส่งเสริมด้วยวิธีการต่างๆ อย่างต่อเนื่องแต่ถ้าสร้างมาแล้วไม่ส่งเสริมก็เหมือนกับทางรัฐได้สร้างเมล็ดพันธุ์ที่ดีขึ้นมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ปลูกฝัง และบำรุงรักษาให้งอกงาม ในการปลูกฝังและบำรุงรักษาต้องอาศัยความจริงใจและจริงจังจากรัฐบาล ทั้งในการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และดำเนินการให้ทุกหน่วยงานได้ตระหนัก และพัฒนาบุคลากรของตนทั้งนี้ เพื่อให้ค่านิยมสร้างสรรค์เหล่านี้เป็นค่านิยมที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนซึมซับและยอมรับเป็นค่านิยมของตนต่อไป หน้า 9<

เข้าค่าย

เข้าค่าย

เข้าค่าย

เข้าค่าย
ค่ายพุทธบุตร ๑-๒ ส.ค.๕๒

เข้าค่าย

เข้าค่าย